กว่าสิบไร่ ของ “ขวยสระ” ที่ผ่ากั้นกลางบึงขนาดใหญ่ที่มีนามว่า
“บึง(นก)เป็ดน้ำ” ออกเป็นสองฟาก และให้ชื่อใหม่สำหรับอีกฟากว่า “สระคะเคียนสวาย”
และอีกฟากในชื่อเดิมว่า “บึงใหญ่” หรือ “บึงนกเป็ดน้ำ”
“ขวยสระ” หรือที่ภาษาไทยสยามเรียกว่า “ขอบสระ” ภาษาถิ่นเขมรแห่งนี้เรียกว่า
“..........” (เรียกว่าอะไรหึ จำไม่ได้ซะงั้น) ที่มีพื้นที่กว่า 10 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่สาธารณะ
ถูกจัดการแบ่งเป็นสองฟาก มีถนนขั้นกลาง และแปลงสภาพแต่ละข้างให้เป็นล็อค ๆ แต่ละล็อคกว้าง
3 เมตร ยาวกว่า 7 เมตร จำนวน 107 ล็อค นั่นหมายถึงว่ามีเจ้าของ 107
ครอบครัวที่มาจับจองทำที่แห่งนี้ มีเจ้าของแต่ละแปลงทำการเกษตรปลูกผักที่หลากหลายตามฤดูกาล
และปลูกทั้งปี ยิ่งในฤดูกาลแห่งความอบอ้าวช่วงเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคมเช่นนี้
ผักที่ถูกนำมาเพาะปลูกและเหมาะก็คงเป็นผักบุ้ง
แต่ด้วยสภาพสถานการณ์แห่งโควิดได้มาเยี่ยมเยือนกว่าไตรมาสเช่นนี้
ผักบุ้งบางเจ้าก็สูงงามเกินเก็บเกี่ยว แต่บางเจ้าก็ถูกเก็บเกี่ยวนำไปจำหน่ายจนหมดแปลงจนได้ลงใหม่รอบแล้วรอบเล่า
หญิง ชาย ทั้งเด็กและสูงวัย เราจะพบเห็นในช่วงเช้า ๆ
และช่วงเย็น ๆ ของแต่ละวันในแปลงแห่งนี้ ที่ต่างมาทำหน้าที่ประจำการบนแปลงผักของตัวเองด้วยการนำภาชนะอย่างฝักบัว
ลงไปตักน้ำที่อยู่ข้าง ๆ นั้น แล้วหิ้วมารดแปลงของตัวเองอย่างขมีขมัน และใส่ใจ
บ้างก็ถอนหญ้า บ้างก็เก็บ บ้างก็กำลังพรวนดินเตรียมลงผักอีกรอบ
หน้าร้อนเช่นนี้ เวลาจวนจะดึงพระอาทิตย์ลงที่ปลายขอบฟ้าทอดแสงสีส้มสลับกับก้อนเมฆทิ้งแสงและเงาสวยงามที่บึงนกเป็ดน้ำ
ที่มีผู้มาว่างออกกำลังกายตามริมขอบสระน้ำนั้น
ๆ
แปลงผักแห่งนี้สร้างวัฒนธรรมของความเป็นวิถีให้คงอยู่
ได้สูงวัยได้ออกกำลังกาย ได้กินของที่ปลูก และจะได้ปลูกของที่ตัวเองกิน
รวมไปถึงได้แลกเปลี่ยนจับจ่ายเป็นเงินได้ด้วย สร้างความเป็นวิถี สร้างความสุข สร้างความงดงามให้เกิดกับบ้านของเรา
นี่คือ เรื่องราวจากบ้านของเรา จากมุมของเรา
สวาย หมู่ที่ 2 ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
#ที่นี่บ้านเรา
#กอนกวย
.
เรื่อง / ภาพ ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
090563
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น