ศรีสะเกษ – โรงเรียนนวัตกรรมการเรียนแบบจิตศึกษา
ปิดควอเตอร์ 2 ผู้ปกครองยิ้มเห็นผลงานลูกหลานตน
เรื่อง-ภาพ โดย ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
ในช่วงตุลาคมของปีนี้
คือช่วงเดือนแห่งการทำงานหนักมาตลอดทั้งปีการศึกษา
ทั้งการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ทั้งงานเกษียณอายุราชการ ทั้งงานแข่งขันอีกมากมายในระบบการศึกษา
ในขณะเดียวกันก็เป็นการช่วงที่ผ่อนคลายเช่นเดียวกันสำหรับบุคลากรทางการศึกษา
การเรียนการสอนในระบบ
มีการแบ่งการเรียนเป็นภาคเรียนการศึกษา ซึ่งในปีหนึ่งจะมี 2 ภาคการเรียน
แต่สำหรับหนึ่งในโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
อย่างโรงเรียนบ้านเมืองน้อยหนองมุข อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มีการแบ่งการเรียนการสอนเป็น
ควอเตอร์ ซึ่งปีการศึกษาหนึ่งนั้นจะมี 4 ควอเตอร์
นายสังเวียน สูงโฮง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเมืองน้อยหนองมุข |
และเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม
2562 ก็เป็นวันปิดควอเตอร์ที่ 2 ของโรงเรียน
นายสังเวียน สูงโฮง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเมืองน้อยหนองมุข กล่าวว่า “โรงเรียนของเรา
โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรม จิตศึกษา PBL และ PLC เปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
โดยมีต้นแบบจากโรงเรียน ลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์
วันนี้เป็นการปิดควอเตอร์ 2 โดยมีผู้ปกครองมาร่วมและดูผลงานของนักเรียนงานที่ผ่านมาลูกหลานตัวเองทำอะไรบ้าง
ชุมชนมีส่วนร่วม บางหน่วย ผู้ปกครองมีความสามารถ ให้ผู้ปกครองมาเป็นวิทยากร เช่น
ระดับชั้นอนุบาลเรียนเรื่องปราสาทผึ้ง ก็มีการพาทำ เกิดการเรียนรู้ มีส่วนร่วมจริง
และมีการสรุปงานนำสนอ ซึ่งเราจัดการเรียนการสอนเป็นแบบควอเตอร์ ปีหนึ่งมี 4
ควอเตอร์”
ซึ่งกิจกรรมในการปิดควอเตอร์ที่สองนี้
ก็ได้ดำเนินการเหมือนกันทุกชั้นเรียน ตั้งแต่ อนุบาลจนถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม
คุณครูสุธาทิพย์ จำชาติ ครูประจำชั้นอนุบาล กล่าวว่า “วันนี้เป็นวันที่นำผลงานของนักเรียนตลอดควอเตอร์สองนี้
นำมาสรุปและนำเสนอให้ผู้ปกครองได้ชื่นชม แนะนำเรา
โดยนักเรียนเองนำเสนอผลงานตัวเองเป็นชิ้นงานออกมาเขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ซึ่งระดับอนุบาลยังเขียนไม่ได้
เขาจะสื่อสารด้วยการวาดรูปและเล่าเรื่องให้ผู้ปกครองฟัง
ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการสื่อสารกับผู้ปกครองผ่านมาไลน์ ทางเฟซบุ๊ก
แต่บางคนไม่มีสิ่งเหล่านั้นก็ได้มาเห็นในวันนี้ มามีความสุขด้วยกัน มาชื่นชมผลงานลูกหลานด้วยกัน
รวมถึงสะท้อนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเราด้วยกัน”
กิจกรรมนำเสนอผลงานนักเรียนในรอบควอเตอร์สองที่ผ่านมา |
วิไลวรรณ นามวงษ์
ผู้ปกครองของน้องเฟิร์ส ชั้นอนุบาล กล่าวว่า “คุณครูท่านออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้ลูกหลานได้ดีมากในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งเราก็ได้ติดตามผลงานของลูกเราได้จากทางกลุ่มไลน์และทางเฟซบุ๊ก
เหมือนทำให้เราได้เห็นผลงานลูกอย่างใกล้ชิดด้วย อย่างน้อย ๆ ลูกเราได้แสดงออกมากขึ้น
กล้าพูดและได้ไปพบเจอนอกสถานที่หลายแห่งในชุมชนเรา”
ที่สอดคล้องกับผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ว่า
วิภารัตน์ คำศรี ผู้ปกครองชั้นอนุบาล
“ดีใจที่โรงเรียนมีการนำเสนองานแบบนี้ ย้อนนึกถึงตอนที่ตัวเองเป็นเด็ก
ถ้ามีการปิดเทอมก็แค่บอกว่าปิด ก็ปิดเลย หรือบางโรงเรียนก็แค่แจ้งผู้ปกครองว่าปิดแล้วนะ
แจกนมก็เป็นอันรู้กัน แต่ที่นี่มีการให้ผู้ปกครองมาชมผลงานลูกเราด้วย และก็ได้สังเกตพัฒนาการของลูกเองก็ดีขึ้นมาก
แต่ก่อนเหมือนเขาไม่ค่อยกล้าทำอะไร
แต่มาเรียนแบบนี้รับรุ้ถึงการเปลี่ยนแปลงของลูกได้เลยค่ะ และลูกจะมาเล่าให้ฟังบ่อย
ๆ ว่าได้ทำแบบนั้น ได้แสดงเป็นตัวละครสมมุติตัวนี้ เราเองยังงงว่าลูกเรากล้าแสดงด้วยหรือ
นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รู้สึกดีและภูมิใจมากค่ะ”
รัตติยา ทองคำ
ผู้ปกครองนักเรียน กล่าวว่า “ก่อนจะปิดภาคเรียนนี้
ก็มีการเชิญผู้ปกครองนักเรียนเรามาผลงานของลูกหลานเรา ว่าเขาทำอะไรบ้าง และสิ่งทีป่ระทับใจคือ
กิจกรรมการเรียนการสอนของคุณครูในแต่ละสัปดาห์
ซึ่งผู้ปกครองเองก็เป็นเหมือนครูของลูกเหมือนกัน เราจะคอยถามว่าวันนี้ทำอะไรบ้าง
เขาก็จะเล่าให้ฟังตลอด”
แม้จะเป็นพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา
อีกพื้นที่หนึ่งที่จังหวัดศรีสะเกษ ประกาศเป็นจังหวัดนวัตกรรมการศึกษา
ที่มีความโดดเด่นในด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL และ PLC รวมถึงจิตศึกษา ที่จัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน และเห็นผล ผู้ปกครอง
คณะครูและนักเรียนต่างมีความสุขกับการจัดการเรียนการสอนด้วยดี
ชื่นชมค่ะ
ตอบลบขอบคุณที่ติดตามร่วมกันครับ
ลบ