โขนขุขันธ์’62 ฟื้นคืนชีพ
ที่ลานอนุสาวรีย์ตากะจะ ผู้ชมแน่นล้นหลามหาชมไม่ได้แล้ว | HUG HOUSE [สุขนี้ที่บ้านเรา]
เมื่อ 23 ก.ย. 62 ณ
ลานอนุสาวรีย์ตากะจะ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ มีการจัดงานสัปดาห์แซนโฎนตาอำเภอขุขันธ์
และมีการจัดนิทรรศการ การเรียนรู้เรื่อง “โขนขุขันธ์” ศิลปะชั้นสูง
ที่หายไปจากถิ่นขุขันธ์ร่วม 135 ปี สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ และ
โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล จึงได้มีการรื้อฟื้นศิลปะนาฏศิลป์ชิ้นนี้ขึ้นอีกครั้ง
โดยใช้เป็นการเรียนการสอนและให้นักเรียนได้ลงมือแสดงด้วยตนเองในปีการศึกษา 2562
ที่ผ่านมา และมีการนำเสนอนิทรรศการ โดยมีการเปิดนิทรรศการโดย
ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เป็นประธาน
รวมถึงมีการแสดงในค่ำคืนของวันที่ 23 กันยายน ด้วย
ได้รับการตอบรับจากผู้ปกครองและนักท่องเที่ยวมาร่วมชมและให้กำลังใจอย่างเนืองแน่น
พิธีเปิดนิทรรศการ โขนขุขันธ์ |
“โรงเรียนของเรา ได้รื้อฟื้น
โขนขุขันธ์ ขึ้นมา โดยมีชุมนุมโขนขุขันธ์อนุบาลศรีประชานุกูล
ได้ทำการเรียนการสอนในชั่วโมงชุมนุม เพื่อเป็นการรื้อฟื้น อนุรักษ์
และสานต่อเอาไว้ที่เป็นอัตลักษณ์ของอำเภอขุขันธ์เราให้คงอยู่สู่รุ่นหลังต่อไป” ดร.ครรชิต ไชยโพธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล
อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล อ.ขุขันธ์ กล่าวรายงานต่อ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาฯ |
“การเรียนรู้ในเรื่องของวรรณกรรม
วรรณคดีไทยทั้งหลายเป็นเรื่องของอดีตที่เราเอามาใช้ทำการเรียนการสอนกัน
เป็นความงามของภาษาไทย เพียงถ้าเป็นเรื่องวรรณกรรมที่อยู่ในหนังสือ
อ่านไปก็อยู่ตรงนั้น แต่ที่โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล นำมาปรับใช้ โดยเป็นผู้แสดงจริง
เป็นการเรียนรู้ที่เห็นจากของจริง และได้เรียนรู้ในสิ่งที่กระทำเอง เรียนรู้เอง
ปฏิบัติด้วยตัวเอง ทำให้รู้สึกว่าการเรียนรู้ง่ายขึ้น
และต้องมีการขยายผลไปยังโรงเรียนอื่นให้นักเรียนได้รู้เอง ทำเอง นอกจากการเป็นการอนุรักษ์แล้วยังเป็นการสร้างการเรียนรู้ตามแนวทางวิธีการ
Active
learning ด้วย” ดร.ไพบูลย์ ศรีสุธรรม
ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ผู้อำนวยการเขตฯ เดินชมนิทรรศการ ให้กำลังใจ |
“โขนขุขันธ์
ถือว่าเป็นศิลปะชั้นสูง ที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 และมีอายุ 100 กว่าปี
ซึ่งได้สูญหายไประยะหนึ่งจากขุขันธ์บ้านเรา
สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์จึงได้ปรึกษาหารือกับหลายฝ่ายว่าควรรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
ซึ่งถ้าจะรื้อฟื้นโขนโดยให้ผู้ใหญ่เล่น เราต้องไปจ้างคนมาดู เราจึงให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานเราได้เรียนรู้และได้รู้จักความสำคัญของโขนไปด้วย
ก็จะมีเป็นการอนุรักษ์ไปในตัวด้วย” นายขวัญชัย ไชยโพธิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
ส่วนหนึ่งจากการเขียนและออกแบบโดยฝีมือนักเรียนและคณะครู |
การแสดงโขนขุขันธ์
มีมาสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ปี 2426 ได้มีการนำโขนมาจากกรุงเทพฯ
ตั้งแต่ท่านเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านที่ 9 (พระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน (ปัญญา
ขุขันธิน) โดยมีครูโขนจากกัมพูชามาถ่ายทอด โดยใช้ภาษาเขมรในการถ่ายทอด
มีการแสดงได้เพียงปีเดียว ก็หายไป และได้มีการฟื้นขึ้นมาอีกครั้งในปี 2511
เพื่อเข้าร่วมแสดงในงานกาชาดและเฉลิมฉลองจังหวัดศรีสะเกษ และหลังจากปี 2515 ก็ไม่ได้นำมาแสดงอีกเลย
กระทั่งในปี 2562 นี้
โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุกูล และ สภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายฯ
จึงได้มีการรื้อฟื้นให้โขนขุขันธ์ ศิลปะชั้นสูงนี้กลับมามีบทบาทอีกครั้งและได้รับการตอบรับด้วยดีจากทุกภาคส่วน
ขวัญชิต
โพธิ์กระสังข์ / กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมกวยตำบลโพธิ์กระสังข์
23
กันยายน 2562
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น