ศรีสะเกษ : สร้างองค์ความรู้เป็นนักยุววิจัยไทบ้านให้นักเรียนร่วม 100 คน ในเขตอำเภอขุนหาญ
ได้รู้การเรียนแบบลงมือปฏิบัติจริงกับพื้นที่จริงและใช้ได้จริง
[ มีคลิป ] เมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่โรงเรียนบ้านพยอม อำเภอขุนหาญ
จังหวัดศรีสะเกษ ตัวแทนนักเรียนในเขตอำเภอขุนหาญ ร่วมกับชุมชนในเขตตำบลโพธิ์กระสังข์
ร่วม 100 คน มีการทำกิจกรรมศึกษา เก็บข้อมูล วิเคราะห์และนำเสนอสิ่งที่ลงพื้นที่ไปเก็บมานั้นนำมาแลกเปลี่ยนกัน
โดยลงพื้นที่ในเขตพื้นที่อำเภอขุนหาญ หรือเรียกสิ่งนี้ว่า “วิจัยไทบ้าน”
แต่ในการทำในรูปแบบของนักเรียนจะเรียกว่า “ยุววิจัยไทบ้าน”
“งานวิจัยไทบ้านนี้
มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามมาให้ข้อมูล ความรู้กับชาวบ้าน คุณครูเห็นว่าเป็นเรื่องใหม่จึงอยากให้นักเรียนได้เรียนรู้สิ่งใหม่
ๆ จึงได้ชักชวนขอความสมัครใจกับนักเรียนที่สนใจมา
ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาฝึกกระบวนการเก็บข้อมูลเพื่อจะได้รู้ว่าในพื้นที่อำเภอขุนหาญเรานั้น
มีของดี สิ่งดีงามอะไรบ้าง มีคุณค่าอะไรบ้าง”
ลัดดา เลิศศรี
ครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เล่าให้ฟังถึงสิ่งดี
ๆ ที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติลงมือทำจริง
“สิ่งที่ได้ เกินความคาดหวังเลย
สังเกตเห็นเด็ก ๆ สนใจและสนุกกับการเรียนรู้และบางคนได้คำศัพท์พื้นถิ่นใหม่ ๆ
ไปด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นได้เห็นความสัมพันธ์ของผู้ปกครองที่ให้ข้อมูลกับเด็กแบบเอ็นดูด้วย
ซึ่งนอกจากเด็กจะได้ความรู้แล้ว ยังได้ความรักไป ผู้เฒ่าผู้แก่ยังได้ความหวังกลับคืนมา
นี่ล่ะคือข้อมูลที่ทำให้เรารู้ว่าบ้านเรามีอะไรดีที่อยู่ในมือ
ทำให้เราสามารถปกป้องสิ่งดี ๆ ได้ ถ้าเราไม่ทำแบบนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบ้านเรามีดีอะไรบ้าง”
คุณครูฯ กล่าวทิ้งท้าย
ในกิจกรรมครั้งนี้ ไม่เพียงแค่รับองค์ความรู้เท่านั้น แต่ทำให้ได้คิดและวิเคราห์กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการเรียนรู้นอกห้องเรียน
“เคยร่วมกิจกรรมการสำรวจแบบนี้
เมื่อตอนประถม แต่ขึ้นมัธยมมาไม่ค่อยได้สำรวจแบบนี้เลย จึงได้ทักษะจากประถมมาใช้ในครั้งนี้
สนุกมากและได้รู้คำใหม่ ๆ เยอะเลย เพราะที่บ้านก็ไม่มีแล้ว แต่ถ้าให้ดี ควรจำกัดเวลาให้ชัดเจนจะไม่เหนื่อยมาก
และจากการได้สำรวจก็ได้รู้ว่าพื้นที่ใกล้ ๆ แถบนี้เขาว่าจะมีการสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าด้วย
แล้วของที่พวกเราสำรวจไปจะหมดไปด้วยไหม...!” พรกนก สมรัตน์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม
เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ
“เพื่อน ๆ จากโรงเรียนเราที่สมัครใจมาน่าจะถึง
40 คนนะ ได้โจทย์ลงพื้นที่สำรวจสัตว์น้ำที่กินได้ แต่แถวนี้ไม่มีน้ำแล้ว
เจอแต่หอยที่ตายแล้ว แปลกเนาะขนาดหน้าฝนยังไม่มีน้ำ จึงได้ถ่ายรูปแล้วถามข้อมูลจากคนในชุมชนเอาไว้
ที่บ้านพูดภาษาไทอีสาน (ลาว) สิ่งที่ได้คือคำศัพท์ภาษาถิ่นทั้งเขมรและส่วย(กูย,กวย)
และได้เพื่อนจากต่างโรงเรียนด้วย” จนิตา สมรัตน์ นักเรียนจากโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์
กล่าว
(ขอบคุณภาพจาก fb:/คริสเตียโน่ โฟโต้)
โดย ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
20 ส.ค. 2562
ลิงค์ประกอบ : https://www.youtube.com/watch?v=mLGW4kY2Zu8&list=PLcx0VcPxAS-ZGypKOmUw1w5XB1RaY4UPX&index=25&t=0s
ลิงค์ประกอบ : https://www.youtube.com/watch?v=mLGW4kY2Zu8&list=PLcx0VcPxAS-ZGypKOmUw1w5XB1RaY4UPX&index=25&t=0s
ภาพประกอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น