ศรีสะเกษ-ชาวโพธิ์กระสังข์จัดเวทีหาคำตอบจากข้อกังวลที่ไม่เคยรับรู้ถึงผลกระทบอันมาจากโรงงานอุตสาหกรรมใกล้พื้นที่
วันนี้
(22 ส.ค. 62) กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดจังหวัดศรีสะเกษ จัดเวทีให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบ ผลได้ ผลเสีย
ที่จะเกิดขึ้นหากมีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ โดยมีนักสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน
นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและเครือข่ายมาให้ข้อมูล และร่วมแลกเปลี่ยนถึงข้อกังวล ข้อสงสัยที่ชาวบ้านต้องการทราบ
ณ ศาลาประชาคมหมู่ที่ 2 บ้านโพธิ์กระสังข์ ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระสงฆ์
นายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์กระสังข์ สมาชิกสภาเทศบาลตำบลโพธิ์กระสังข์ ครู ผู้นำชุมชน เยาวชน เด็กและชาวบ้านจากหมู่ที่
1 หมู่ 2 หมู่ 7 หมู่ 9 หมู่ 10 หมู่11 หมู่ 12 ร่วม 200 คน แน่นขนัดเต็มศาลาจนต้องยกเต็นท์อีกหลังยื่นออกมาในถนนเพื่อรองรับผู้ร่วมรับฟ้ง
ส่วนใหญ่ชาวบ้านที่มาฟังคือชาวบ้านที่ยังไม่เคยได้รับข้อมูลเรื่องโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล
“ก็ดีใจอย่างมากกับญาติโยมที่มารับความรู้ด้วยกัน ไม่ได้มาเพื่อต่อต้านหรืออย่างอื่นใด
อาตมาก็เพิ่งได้มารับรู้ข้อมูลในวันนี้เหมือนกันตั้งแต่ได้ยินข่าวเรื่องนี้มา
เรื่องผลกระทบเรื่องควันไม่ต้องคิดอะไรไปไกลเลย สังเกตเพียงชาวบ้านแต้พัฒนา
(หมู่ที่ 11) ก็เพียงพอ ใกล้ๆ เพียงแค่นี้เอง เพียงแค่ท่อจากเมรุเผาศพเพียงอันเดียวยังเดือดร้อน
ไม่มีการเผาศพบ่อยนักเลย
นานทีถึงจะมีงานศพที แต่ว่าควันจากการเผาศพยังเหม็น เหมือนกลิ่นศพ ผลกระทบเช่นนี้ถามบ้านแต้จะรับรู้ดี
แต่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำการเผาบ่อยขนาดนี้ เราคิดภาพไม่ออกเลย
จึงอยากให้ญาติโยมรับรู้ถึงผลได้ ผลเสียที่จะเกิดขึ้น ไม่ได้ห้ามหรืออย่างอื่นนะ
อย่างน้อย ๆ ที่ทุกคนมาก็จะได้รับรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์นำมาแลกเปลี่ยนกัน ทำให้เราได้มองภาพออก
หรือจะรับหรือไม่เป็นต้น ถือว่าเป็นสิ่งดีที่มีผู้มาให้ข้อมูลกับพวกเรา” ส่วนหนึ่งจากหลวงพ่อ พระครูสังวรวุฒิคุณ
เจ้าอาวาสวัดไตรราษฎร์สามัคคี ที่มีพื้นที่อยู่ในเขตตำบลโพธิ์กระสังข์ ผู้เข้าร่วมรับฟังในครั้งนี้
กล่าวกึ่งหยิบแง่คิดมาเล่าแลกเปลี่ยนกัน
“หลาย ๆ ท่านคงทราบดีเรื่องผลกระทบฯ วันนี้ กระผมเองหวังว่า
ท่านที่มาร่วมฟังวิทยากร ขอวิงวอนให้ช่วยกันจริง ๆ ที่จะให้ประสบความสำเร็จเพื่อลูกหลานเราต่อไป
ขอบคุณมากครับ” นายสุบิน งอนสวัน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโพธิ์กระสังข์
กล่าวในการพบปะกับชาวบ้าน
ซึ่งจากการพูดคุย
ร่วมแลกเปลี่ยนกันแล้ว ชาวบ้านมีมติอยากให้มีเวทีเช่นนี้อีกทั้ง 14
หมู่บ้านในเขตตำบลโพธิ์กระสังข์ หรือรวมกันในครั้งเดียวแต่รวมชาวบ้านทั้ง 14 หมู่บ้าน
แล้วจัดทำเป็นแผนร่วมกัน รวมถึงจะมีการขยายเวทีเช่นนี้ออกไปในวงกว้างในตำบลใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน
และก่อนที่จะจบเวทีแลกเปลี่ยน
เสนอแนะข้อกังวลกันนั้น หลวงพ่อฯ ได้กล่าวสรุปเป็นภาษาถิ่นกวยโพธิ์กระสังข์
ได้ใจความว่า “พี่น้องเราทั้งหลาย ถึงจะอย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้เราใช้เรื่องพวกนี้ไปทะเลาะกันเองในครอบครัวหรือชุมชน
แต่เราควรพูดเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ไม่ควรพูดแล้วขัดแย้งกันเอง
ซึ่งเราควรเอ่ยถึงประโยชน์และโทษของมันในอนาคต และควรมองให้ไกลถึงอนาคตลูกหลานเราเองด้วย”
ขวัญชิต
โพธิ์กระสังข์ กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมกวยตำบลโพธิ์กระสังข์ รายงานจากศาลากลางหมู่บ้านโพธิ์กระสังข์
หมู่ที่ 2
ลิงค์ประกอบ :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น