กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดจังหวัดศรีสะเกษ ย้ำจุดยืนเดิมต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัด
ไม่เอาโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล
แนะควรไปตั้งที่เหมาะสมพร้อมเสนอแนวทางความยั่งยืนของเกษตรในพื้นที่
18 ธันวาคม 2562 กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดจังหวัดศรีสะเกษ
ร่วม 500 คน นั่งเสื่อรอต้อนรับรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังข้อเสนอและข้อเรียกร้องรวมถึงทางเลือกที่คนในพื้นที่ต้องการในกรณีโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล
ที่ศาลาการเปรียญวัดบ้านตาจวน ตำบลสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
นายเอกลักษณ์ โพธิสาร กรรมการกลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดจังหวัดศรีสะเกษ
กล่าวว่า “ทางกลุ่มฯได้ทำหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้ลงพื้นที่ศึกษาสภาพจริงในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีการก่อตั้งโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลนั้น
วันนี้ได้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษพร้อมหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่แทน
ซึ่งทางกลุ่มได้นำเสนอข้อมูลบริบทพื้นที่จริง และข้อเสนอทางเลือกที่ยั่งยืนที่เหมาะสมกับพื้นที่
อันได้แก่พลังงานธรรมชาติ จำพวก โซล่าลูป โซล่าเซลล์ เป็นต้น
ส่วนโรงงานน้ำตาลก็ควรไปจัดตั้งในพื้นที่ที่มีวัตถุดิบอ้อยอยู่”
ด้านนายปิยะนารถ
เหมือนมาตย์ ชาวบ้านพยอม ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
กล่าวว่า “จากกรณีการแบน 3 สารพิษ ซึ่งมีทั้งผู้เห็นด้วยและผู้คัดค้าน และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือชาวไร่อ้อย
ข้อมูลจากข่าว ซึ่งหมายความว่า คนที่ปลูกอ้อยจะต้องใช้สามสารพิษเป็นอย่างมาก
และมันก็ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของจังหวัดเรา ที่เรามีการส่งเสริมการปลูกพืชที่หลากหลาย
ถ้าเราส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่ การใช้สารเคมีจำนวนมากก็จะตามมา”
เมื่อทางกลุ่มฯ ได้นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงของพื้นที่และนำเสนอทางเลือกที่ยั่งยืนของชุมชนแล้ว
หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ เจ้าหน้าที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
พลังงานจังหวัด โยธาจังหวัด ศูนย์ยุติธรรมจังหวัด รวมไปถึงท้องถิ่นและท้องที่อย่าง
นายอำเภอไพรบึง และปลัดเทศบาลตำบลสำโรงพลัน ผลัดกันนำเสนอบทบาทที่ตัวเองเกี่ยวข้อง
หลังจากนั้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ได้ลงพื่นที่ไปดูสถานที่จริงว่าอยู่ใกล้ชุมชนสักเพียงไหน
นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล
รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า “ดีแล้วล่ะที่เรารวมตัวกันและบอกกล่าวกัน
อยากจะยกพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่เก้าว่า การพัฒนาคือการสร้างสรรค์
ทำให้ดีขึ้น สร้างสรรค์ขึ้นแต่ต้องไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน พวกเราทำถูกแล้ว
สิ่งหนึ่งที่ท่านย้ำคือ ที่ดินของเกษตกรเรา ท่านไม่อยากให้เปลี่ยนมืออยากให้รักษาไว้เป็นมรดกไว้ให้ลูกหลาน
เราเป็นเกษตกรต้องรักในความเป็นเกษตร และผมก็รับเรื่องของพวกเราเอาไว้ หลังจากนี้ให้ทำหนังสือที่ทางกลุ่มฯ
รวบรวมประเด็นข้อเสนอและข้อเรียกร้องรวมถึงข้อเสนอแนะที่ยั่งยื่นที่นำเสนอในวันนี้ยื่นหนังสืออีกครั้งเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย”
ด้านนางสุจิตรา วงษ์พินิจ ชาวบ้านพยอม ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ
กล่าวว่า “บรรยากาศวันนี้เป็นกันเองมาก รู้สึกอบอุ่นแบบบ้าน ๆ
เราให้เรามั่นใจในการขับเคลื่อนของกลุ่มเราต้องไปต่อ
รู้สึกได้มีพลังและมีทิศทางในการก้าวไปข้างหน้าขึ้น ซึ่งเราสัมผัสได้
ชาวบ้านเราเป็นกันเองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เป็นกันเอง
ชาวบ้านเริ่มเข้าใจมากขึ้นถึงผลกระทบกับวิถีชีวิตของเราจริง ๆ”
เพราะนี่คือ พลังการรวมตัวกันของกลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิด ที่ต้องการปกป้องทรัพยากรของตัวเอง บนสิ่งที่ชุมชนไม่ต้องการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่บ้านของเรา ฮักเฮา ความสุขที่บ้านเรา
#ฮักเฮา
#สุขนี้ที่บ้านเรา
#Hug-House
#HugHouse
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น