เรื่อง-ภาพ โดย ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
เพราะทุกพื้นที่มีเรื่องราว
เพราะทุกชุมชนมีสิ่งดีงามมากมาย และทุก ๆ ที่ล้วนมีอะไรให้เราได้เรียนรู้อยู่ตลอด
บ่อยครั้งที่การเดินทางทำให้ได้พบเจอสิ่งใหม่
ๆ ดี ๆได้พบเจอ ได้พูดคุย ได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
แต่ในขณะเดียวกันบ้านเกิดของเราเองก็มีดีอยู่มากมาย หลากหลายมิติ มุมมอง
อยู่ที่เราจะมองเห็น
คราวนี้ จึงขอนำเสนอเรื่องราวที่บ้าน
นั่นคือ บ้านตาตา ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ไม่ได้เดินทางไปไหน
ที่มีการจัดกิจกรรมคืนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของการกินผักและปลูกผักภายในชุมชนเรา
มีกี่คนที่กินผัก มีกี่ครัวเรือนที่ปลูกผัก และดัชนีมวลกาย หรือปริมาณน้ำหนักของแต่ละคนเกินค่ามาตรฐานหรือที่เรียกกันว่า
ค่า BMI สักกี่ราย รวมไปถึงมีเวทีเสวนา “ทำไมต้องปลูกและกินผักด้วย
มันดีจริงหรือ...!” ที่จัดโดย
สภาผู้นำชุมชนบ้านตาตา
สายของพุธที่ 6 พฤศจิกายน
2562 ที่ศาลากลางหมู่บ้านตาตา ชาวบ้านได้มีกำหนดร่วมรับฟังข้อมูลและเรื่องราวเวทีเสวนาด้วย
ร้อยกว่าคนเห็นจะได้จากการรับลงทะเบียน
บ้านตาตา เป็นอีกหนึ่งชุมชน
ที่ได้ขับเคลื่อนงานชุมชนโดยมีสภาผู้นำชุมชนเป็นแกนหลัก
ทำงานผ่านปัญหาที่ชุมชนคิดเพื่อจะแก้ไขตัดรากของปัญหานั้น ๆ ในทุกมิติ
ให้ตัดขาดออกไปทีละอย่าง โดยมีการขับเคลื่อนมาแล้วปีนี้เป็นที่สาม ในปีที่หนึ่ง
ขับเคลื่อนการจัดการลดแอลกอฮอล์ โดยกำหนดผ่านงานบุญ งานประเพณี งานอวมงคล
รวมไปถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ ในปีที่สอง
ก็ยังขับเคลื่อนกิจกรรมแรกและเพิ่มด้วยการจัดการขยะในครัวเรือนและในพื้นที่สาธารณะของชุมชนด้วย
และในปีที่สามนี้ ขับเคลื่อนด้านสุขภาพเป็นหลัก นั่นคือ เรื่องการกิน
การสร้างสุขภาพดีด้วยการปลูกและกินผักผลไม้ที่มีประโยชน์นั่นเอง โดยได้เขียนโครงการขอรับงบประมาณจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ
หรือ สสส. นั่นเอง ขับเคลื่อนได้งบประมาณ 6 แสนบาท (ปีละ สองแสน)
ภายในกิจกรรม นายอัมพร ปรีเปรม
ประธานสภาผู้นำชุมชนบ้านตาตา รายการสถานการณ์การปลูกผักและกินผัก ของผู้คนในชุมชนที่มีอยู่
114 ครัวเรือนที่อยู่จริง จากจำนวน 139 ครัวเรือนทั้งหมด และมีประชากรที่อยู่จริง 380
คน
ไม่มีปรากฏว่าใครไม่กินผักในชุมชน
และมีกินผักเกิน 4 ขีด / วัน 72 ราย และมีการปลูกผักกินเองที่เกิน 10 ชนิด จำนวน
83 ครัวเรือน ที่ปลูกไม่ถึง 10 ชนิด จำนวน 26 ครัวเรือน ไม่ปลูกผักเลย 5 ครัวเรือน
และดัชนีมวลกาย
น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือมีค่า BMI จำนวน 25 ราย
.
หลังจากนั้น มีเวทีการเสวนา เพื่อให้มุมมองเกี่ยวกับการปลูกและกินผัก
รวมถึงพิษภัยที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมี พระครูสังวรวุฒิคุณ ปราชญ์ชุมชนและเจ้าอาวาสวัดไตรราษฎร์สามัคคี,
นิพนธิ์ นามกระจ่าง (Young
Smart Farmer ขุนหาญ) เจ้าของไร่สามัญชน และสุจินดา เมฆคลี
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขุนหาญ และดำเนินการเสวนาโดย ขวัญชิต
โพธิ์กระสังข์
พระครูสังวรวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดไตรราษฎร์สามัคคี
กล่าวว่า “ชุมชนเราในอดีตมีการปลูกผักกินเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนทำให้การปลูกผักเพื่อกินจึงไม่ค่อยมีให้เห็นมากสักเท่าไหร่นัก
แต่ก็ยังมีให้เห็นบ้าง ทางวัดเองก็มีพื้นที่รองรับและปรับพื้นที่ไว้สำหรับการปลูกผักเช่นกัน
ถ้าชุมชนพร้อมหรือจะจัดให้มีการปลูกผัก ทางวัดก็ยินดีเสมอ”
สุจินดา เมฆคลี
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขุนหาญ กล่าวว่า “โทษจากสารพิษต่าง ๆ มีอันตรายมาก
การปลูกผักเพื่อกินเอง จะทำให้เรารู้ว่าเราควรปลูกผักแบบไหน และที่โรงพยาบาลขุนหาญเราก็มีนักโภชนาการ
ที่มีการรับซื้อผักอินทรีย์จากชุมชนอยู่แล้ว ก็ยินดีเป็นผู้ประสานงาน ถ้าชุมชนบ้านตาตาหรือชุมชนอื่น
ๆ จะปลูกผักอินทรีย์แล้วส่งให้ทางโรงพยาบาลก็จะเป็นสิ่งที่ดี”
การเสวนาเป็นไปแบบกันเอง
มีการสื่อสารกันทั้งภาษาถิ่นกวย ภาษาอีสาน และภาษาไทยเป็นระยะ รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนจากผู้ฟังการเสวนาด้วย
นับเป็นอีกรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ใหม่ที่จัดโดยชุมชนกันเอง
เพราะนี่คือความสุขจากอีกหนึ่งพื้นที่ที่เราพบเจอ ที่บ้านของเรา ฮักเฮา ความสุขที่บ้านเรา
#ฮักเฮา
#สุขนี้ที่บ้านเรา
#Hug-House
#HugHouse
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น