สำหรับชาวนาแห่งขุนหาญบ้านเรานั้น
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ๆ ก็คงมีอาชีพเสริมที่คล้าย ๆ กันแทบทั้งสิ้น นั่นคือการทอผ้า
ทั้งการทอที่คงวิธีการทอและการย้อมแบบดั้งเดิมหรือการทอแบบประยุกต์การทอหรือผสมการย้อมด้วยวิธีต่างๆ
รวมถึงการคิดลวดลายใหม่ ๆ ขึ้นมาก็ตาม
แต่นั่นก็คือการทอผ้าไหมที่แต่ละพื้นที่ยังมีให้เห็นตามชุมชนต่าง
ๆ ซึ่งก็หาชมได้ไม่ยาก อยู่ที่ว่าชุมชนไหนจะเข้มแข็งสานต่อเสริมพลัง
สร้างรายได้ให้เกิดกับชุมชนนั้น ๆ ไป
และคราวนี้
แอดมินขอนำเสนอเรื่องราวจากชุมชนชาวกวยแห่งบ้านโพธิ์น้อย ต.กระหวัน อ.ขุนหาญ
จ.ศรีสะเกษบ้าง นั่นคือการทอผ้าไหม
ซึ่งการทอผ้าไหมจากชุมชนแห่งนี้
เราเห็นเพียงผู้สูงวัยเท่านั้นที่ยังคงรักษาการทอผ้าแบบโบราณอยู่
และในครั้งนี้เห็นอุปกรณ์หนึ่งที่เหน็บบนกี่
ทำที่จากกาบของต้นตานที่ผ่านการทุบให้เหลือเพียงเส้น ๆ
แล้วนำมาตัดและมัดรวมเป็นชิ้น ชาวกวยเรียกว่า “ซังเกย” วิธีการใช้คือนำ “ซังเกย”
มาชุบกับน้ำข้าวที่ผสมกับน้ำแล้ว มาฝัดเส้นไหมในทางเครือ
เพื่อให้เส้นไหมเงาและม้วนกันสวยงาม ไม่มีขุยนั่นเอง
แม้จะไม่มีภาพประกอบมาให้
แต่เชื่อว่า พี่น้องชาวขุนหาญบ้านเราคงมองภาพออก และไม่แน่ใจว่าภาษาถิ่นกวย,กูย
หรือภาษาถิ่นเขมรเราจะเรียกว่าอะไร สามารถแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ
#ขุนนหาญบ้านเรา
#ซังเกย
#โพธิ์น้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น