วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

ซังเกย หวีนี้ท่านได้แต่ใดมา...!


สำหรับชาวนาแห่งขุนหาญบ้านเรานั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ๆ ก็คงมีอาชีพเสริมที่คล้าย ๆ กันแทบทั้งสิ้น นั่นคือการทอผ้า ทั้งการทอที่คงวิธีการทอและการย้อมแบบดั้งเดิมหรือการทอแบบประยุกต์การทอหรือผสมการย้อมด้วยวิธีต่างๆ รวมถึงการคิดลวดลายใหม่ ๆ ขึ้นมาก็ตาม


แต่นั่นก็คือการทอผ้าไหมที่แต่ละพื้นที่ยังมีให้เห็นตามชุมชนต่าง ๆ ซึ่งก็หาชมได้ไม่ยาก อยู่ที่ว่าชุมชนไหนจะเข้มแข็งสานต่อเสริมพลัง สร้างรายได้ให้เกิดกับชุมชนนั้น ๆ ไป


และคราวนี้ แอดมินขอนำเสนอเรื่องราวจากชุมชนชาวกวยแห่งบ้านโพธิ์น้อย ต.กระหวัน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษบ้าง นั่นคือการทอผ้าไหม


ซึ่งการทอผ้าไหมจากชุมชนแห่งนี้ เราเห็นเพียงผู้สูงวัยเท่านั้นที่ยังคงรักษาการทอผ้าแบบโบราณอยู่ และในครั้งนี้เห็นอุปกรณ์หนึ่งที่เหน็บบนกี่ ทำที่จากกาบของต้นตานที่ผ่านการทุบให้เหลือเพียงเส้น ๆ แล้วนำมาตัดและมัดรวมเป็นชิ้น ชาวกวยเรียกว่า “ซังเกย” วิธีการใช้คือนำ “ซังเกย” มาชุบกับน้ำข้าวที่ผสมกับน้ำแล้ว มาฝัดเส้นไหมในทางเครือ เพื่อให้เส้นไหมเงาและม้วนกันสวยงาม ไม่มีขุยนั่นเอง

แม้จะไม่มีภาพประกอบมาให้ แต่เชื่อว่า พี่น้องชาวขุนหาญบ้านเราคงมองภาพออก และไม่แน่ใจว่าภาษาถิ่นกวย,กูย หรือภาษาถิ่นเขมรเราจะเรียกว่าอะไร สามารถแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

     #ขุนนหาญบ้านเรา
     #ซังเกย

     #โพธิ์น้อย


วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

บกกรืง : สูงวัยกับภูมิปัญญาการถนอมอาหารแห่งบ้านดอนข่า



   ช่วงนี้ ปลายเดือนเมษายน หลายพื้นที่ในขุนหาญบ้านเราแห้งแล้งหนัก ขนาดต้องซื้อน้ำใช้น้ำอุปโภคบริโภคกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอขุนหาญไปทางอำเภอขุขันธ์ แม้จะเป็นพื้นที่ราบก็ตาม ในขณะเดียวกันก็ยังมีพื้นท่ี่ที่ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ไม่ขาดนัก มีการทำนาข้าวช่วงฤดูแล้ง หรือที่เราเรียกว่า "นาปรัง" ซึ่งในช่วงนี้กำลังมีการเก็บเกี่ยวอยู่พอดี  
สายวันนี้    (27 เมษายน 2562) แอดมินได้เดินทางมาธุระที่นี่ ได้เจอความงดงามตั้งแต่บริบทของถนนหนทาง สะอาดตากว่าหลายพื้นที่ มีการจัดระเบียบของป้าย   ที่สวยงาม อาจจะด้วยเป็นหมู่บ้านที่หน่วยงานรัฐเข้ามามีบทบาทจัดการช่วยก็ตาม กระนั้นก็เพื่อเป็นความงดงามกับผู้พบเห็นได้ชื่นชมและนำไปบอกต่อว่า ชุมชนนี้ควรแก่การมาเยือนไม่น้อยเลย

     ที่นี่ก็คือ บ้านดอนข่า ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษเรา มีการสื่อสารกันด้วยภาษาถิ่นเขมร ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอขุนหาญ 

     ได้พบเจอผู้สูงอายุที่ยังดำเนินการตามวิถีประจำวัน ซึ่งภาพที่เห็นคุณยายท่านกำลังบก-กรืง คือกำลังตำพริกอยู่ด้วยครกและสากแบบพื้นบ้านขนาดใหญ่ ส่วนคุณยายอีกท่านกำลังนั่งเหลาก้านจากทางมะพร้าวแห้ง ทีละก้าน ๆ เพื่อทำไม้กวาดใช้สอย ทำให้แอบยิ้มกับสิ่งที่คุณยายได้ดำเนินในชีวิตประจำวัน   

     พลันเห็นแล้ว ก็ทำให้นึกถึงว่าควรยิ่งที่จะมีกิจกรรมส่งเสริมให้ท่านเหล่านั้นได้พัฒนาศักยภาพเสริมองค์ความรู้ที่ท่านมี ให้ได้ต่อยอดกลายเป็นรายได้หรือมีการหนุนเสริมให้ท่านออกกำลังกายพบปะกันตามเหตุตามปัจจัยที่ควรเป็น คงดีไม่น้อยเลย

     และนี่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ของการเจอในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งก็ยังบ้าน มีโรงเรียน มีวัด และกลุ่มต่าง ๆ ของชุมชนแห่งนี้ที่น่าติดตามน่าค้นหาน่าส่งเสริมกันอีกมากมายเลย


    
















     #ขุนนหาญบ้านเรา
     #ดอนข่าที่รัก

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2562

ความสนุกสนานตามฤดูกาล คือสิ่งที่ผู้ทำงานต่างพื้นที่ถวิลหา สงกรานต์ที่ร้อนอบอ้าว จึงชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ


#สงกรานต์นี้ที่บ้านเรา


เทศกาลที่รวบรวมพี่น้องกลับภูมิลำเนา ต่างจังหวัดมีเพียงไม่กี่ครั้ง หนึ่งในนั้นก็คือ สงกรานต์
 โดยในปี 2562 นี้ หลาย ๆ พื้นที่ก็คงมีการเดินทางกลับภูมิลำเนากันอย่างคึกคัก สร้างปรากฎการณ์ถนนโล่งให้กับเมืองหลวงทีเดียว

ชุมชนวัดไตรราษฎร์สามัคคี (วัดบ้านซำ-บ้านตาตา) ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ก็เช่นกัน มีการจัดกิจกรรมผ้าป่าสามัคคี และมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีรวมถึงมีการละเล่นของเยาวชน พ่อบ้านแม่บ้าน รวมถึงเด็ก ๆ ด้วย โดยการคิดและลงมือทำของกลุ่มเยาวชนที่ทำงานในเมืองหลวงอยากทำสิ่งดีๆให้กับบ้านเกิดตัวเอง
ในบ่ายของวันที่ 14 เมษายน 2562 ก็มีกิจกรรมสระน้ำพระพุทธรูป พระภิกษุสามเณรและขบวนแห่รอบหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน คือ บ้านซำหมู่ที่ 7 และบ้านตาตา หมู่ที่ 1 ด้วย














































ทุ่งกะบาลกะไบแห่งเทือกเขาพรมแดนไทย-กัมพูชา พื้นที่เปิดแห่งใหม่เหมาะกับนักเดินทางและนักประวัติศาสตร์

“บุญ” ต้องฟรี วัดไตรสามัคคี’ จ.ศรีสะเกษ ติดป้ายชัดเจน ทำบุญที่นี่ “ฟรี” ไม่เสียตังค์ [มีคลิป]

ที่วัดไตรสามัคคี ต.โดด อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ เป็นวัดท่องเที่ยวเชิงพุทธอีกแห่งของจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังเป็นที่นิยมในการทำบุญของพุทธศา...