วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

วัดหนองม่วง ขยับ “ขยะสร้างบุญ” ระดมเครือข่ายสร้างสรรค์สังคม ที่หนองบัว นครสวรรค์ [มีคลิป]

วัดหนองม่วง ขยับ “ขยะสร้างบุญ” ระดมเครือข่ายสร้างสรรค์สังคม ที่หนองบัว นครสวรรค์
เมื่อ 27 พฤษภาคม 2566 วัดหนองม่วง ต.หนองกลับ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายพลัง บวร.และหน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ จัดทอดผ้าป่า “ขยะสร้างบุญ” เพื่อสร้างสำนึกดีให้กับคนในพื้นที่รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม แปลงขยะให้เป็นบุญ โดยอาศัยความเข้มแข็งของชุมชนที่มีกลุ่มแม่เพลงพื้นบ้านปราชญ์ผู้รู้ และหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องขยะ โดยมีการนำขยะมาร่วมทำบุญในทุกวันพระที่วัด เพื่อนำไปสู่หนองบัวปลอดขยะ
อรรถ คล้ายนุ่น ปราชญ์ชุมชน/ข้าราชการบำนาญ วัย 65 ปี เล่าให้ฟังว่า ชุมชนวัดหนองม่วง เป็นชุมชนเก่าแก่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาทำไร่ทั่วไป มีวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน และในชุมชนจะมีกิจกรรมต่าง ๆ จะมีกลุ่มแม่เพลงพื้นที่บ้านมาร่วมแสดงออกร่วมกันแบบจิตอาสา และมีหลวงพ่อพระครูสังฆรักษ์ธนกร โฆสธมฺโม เจ้าอาวาสที่เคารพนับถือและแสดงความคิดเห็นในด้านการพัฒนาจิตใจและทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้กับชุมชนมาโดยตลอด และในขณะเดียวกันมีหน่วยงานในพื้นที่และนอกพื้นที่เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเช่นกัน อย่างเช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นมหาลัยสงฆ์คอยเป็นพี่เลี้ยงในทุก ๆ มิติเช่นกัน
วันชนะ ปอพานิชกรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองบัว กล่าวว่า เทศบาลตำบลหนองบัวเรามีประชากร 14 หมู่บ้าน มีการเติบโตของชุมชน และขยะก็พลอยเป็นปัญหาหลักไปด้วยเช่นกัน และเทศบาลมีค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะประมาณ สามแสนบาทต่อเดือน โดยมีค่าจัดเก็บรายได้เกี่ยวกับขยะไม่เพียงพอ ทำให้เกิดเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพื้นที่เรา จึงร่วมกับชุมชนในพื้นที่รณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญและมีการคัดแยกขยะขึ้น ก็ช่วยให้เกิดการจัดการขยะได้เป็นระบบขึ้นลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะได้มากทีเดียว โดยที่วัดหนองม่วง เป็นวัดที่เข้มแข็งและได้ร่วมกันดำเนินการร่วมกันเสมอมา และเป็นต้นแบบของการจัดการขยะได้เป็นอย่างดีด้วย พระครูสังฆรักษ์ธนกร โฆสธมฺโม รองเจ้าคณะอำเภอหนองบัว เจ้าอาวาสวัดหนองม่วง ปรารภให้ฟังว่า ปกติแล้ววัดทั่วไปมักจะมีขยะ 2 ประเภทคือ ขยะศักดิ์สิทธิ์เช่น พระพุทธรูปหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และขยะมีชีวิต จำพวก สุนัข แมวที่มีญาติโยมนำมาปล่อยแล้ว นั่นถ้ามากเกินไปก็พลอยเป็นปัญหาให้กับทางวัด แต่ทางวัดเราเล็งเห็นความสำคัญร่วมกับชุมชน คือเราจะทำอย่างไรให้ชุมชนได้เข้าใจและรู้จักการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทางได้ จึงได้ขอรับบริจาคขยะจากชุมชน โดยรับได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะวันพระก็จะมีญาติโยมมาฟังเทศน์ปฏิบัติธรรมเป็นปกติ ก็จะมีผู้คนนำมาให้เป็นจำนานมาก และทุกเดือนก็จะมีการแปรสภาพขยะต่าง ๆ เหล่านั้นให้เป็นปัจจัยในการบำรุงศาสนสถานเป็นค่าน้ำค่าไฟ เป็นการสร้างบุญไปในตัวด้วย และที่สำคัญได้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่เข้ามาร่วมขยับขับเคลื่อนไปด้วยกันด้วย นับว่าเป็นมิติที่ดีและสร้างสรรค์ต่อชุมชนเราได้เป็นอย่างดี ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์ / นักข่าวพลเมืองคนชายแดน รายงาน

1 ความคิดเห็น:

ทุ่งกะบาลกะไบแห่งเทือกเขาพรมแดนไทย-กัมพูชา พื้นที่เปิดแห่งใหม่เหมาะกับนักเดินทางและนักประวัติศาสตร์

“บุญ” ต้องฟรี วัดไตรสามัคคี’ จ.ศรีสะเกษ ติดป้ายชัดเจน ทำบุญที่นี่ “ฟรี” ไม่เสียตังค์ [มีคลิป]

ที่วัดไตรสามัคคี ต.โดด อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ เป็นวัดท่องเที่ยวเชิงพุทธอีกแห่งของจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังเป็นที่นิยมในการทำบุญของพุทธศา...