ในงานบุญประเพณี รวมถึงการต้อนรับผู้หลักผู้ใหญ่หรืองานมีเกียรติต่าง ๆ ละไม่ได้คือต้องมีการการประดับประดาตกแต่งสถานที่หรือขบวนรถเพื่อความสวยงามและสมกับงาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการต้อนรับไปเสียแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่คือการใช้ผ้าประดับประดาเป็นลวดลายและสีสันต่าง ๆ
ที่ชุมชนวัดบ้านบักดอง ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มีกัน 3 หมู่บ้านกลับยังพบการประดับประดาสถานที่และขบวนแห่ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่นทางมะพร้าว นำมาถักร้อยเป็นรูปต่าง ๆ สวยงาม ตามงาน ตามบุญประเพณีและสถานที่เหมาะกับงานนั้น ๆ ไป ซึ่งในงานบุญประเพณี “บนเบ็ญแซนโฎนตา” ของชุมชนวัดบักดอง ก็ยังคงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะให้เห็นทุกปี
นิตร นาคศรี ปราชญ์ชุมชนบ้านบักดองหมู่ที่
22 วัย 75 ปี กล่าวว่า เรียนรู้การถักการร้อยด้วยทางมะพร้าวแบบนี้มาตั้งแต่เด็กแล้ว
และประยุกต์มาเรื่อย ๆ ให้เหมาะกับงานและสถานการณ์ ซึ่งทำปกติคือประดับโลงศพก็ใช้ทางมะพร้าวออกแบบลวดลายต่าง
ๆ ไม่เคยคิดอยากใช้ผ้านำมาประดับประดาเหมือนเขา
มันไม่เป็นธรรมชาติและไม่ใช่รูปแบบเก่าแก่แบบบ้านของเรา
และในปีนี้งานแห่บนเบ็ญแซนโฎนตาเรา ก็เลือกถักเป็นพญานาคใส่กับเกวียน
และประดับเป็นรูปต่าง ๆ ด้วยทางมะพร้าวทั้งหมด
ออกแบบเองและชาวบ้านเราก็ช่วยกันด้วย
ซึ่งในงานบุญประเพณี
อย่างบนเบ็ญแซนโฎนตาของชุมชน หรือบุญเดือนสิบ ของชาวไทยที่พูดเขมรบ้านบักดองนี้
ที่ชาวบ้านให้ความสำคัญกับประเพณีนี้อย่างมาก เพราะเป็นการรวมตัวกันของผู้คน
ลูกหลานที่ทำงานยังต่างถิ่นต้องกลับมาบ้านเกิดและร่วมทำบุญอุทิศให้กับบรรพบุรุษด้วย
“เม็ง” คือการเรียกขานถึง
เครื่องบวงสรวงที่ชาวบ้านลูกหลานตระเตรียมกับข้าว อาหารคาวหวาน น้ำอบน้ำหอม
เครื่องดื่มต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องบูชานำมาให้กับผีบรรพบุรุษได้กินกัน
มีการตกแต่งใส่สำรับเป็นชุดแล้ววางไว้รวมกัน และมีการประดับประดับตกแต่งเป็นขบวนแห่อย่างสวยงาม
แบกขึ้นบ่าด้วยคน 4 คนเหมือนธรรมาสก์ แห่เม็งนี้มายังวัด
ปัจจุบันยังคงมีการแบกเม็งมายังวัด บ้างก็ปรับเปลี่ยนเป็นขบวนแห่ใส่รถ
บ้างก็เลือกประดับประดับเป็นรูปแบบที่ทันสมัยหรือประยุกต์ให้สวยงาม
พระมหายุทธกิจ ปญฺญาวุโธ
เจ้าอาวาสวัดบ้านบักดอง เล่าให้ฟังว่า อาตมาเกิดมาก็เห็นชาวบ้านเข้มแข็ง
ให้ความสำคัญกับประเพณีบ้านเรามาด้วยดีมาตลอด โดยเฉพาะงานบุญเดือนสิบของบ้านเรา
มีการประดับประดับรถที่ออกแบบและถักร้อยด้วยทางมะพร้าวมาทุกปี
ก็น่าชื่นชมและให้กำลังใจมาก ๆ ซึ่งก็เห็นในงานต่าง ๆ ที่ชุมชนไม่ว่าจะเป็นวัด
บ้าน หรือ หน่วยงานต่าง ๆ สนใจ
ปราชญ์ท่านนี้ร่วมกับชาวบ้านก็ไปช่วยกันตกแต่งและนำทางมะพร้าวมาถักร้อยเป็นรูปต่าง
ๆ ไม่เคยขาด นี่ล่ะคืออัตลักษณ์หนึ่งของบ้านเราที่ไม่เหมือนใครเลยนะ
การถักร้อยด้วยทางมะพร้าวบ้านเรา
เรื่องเล็ก
ๆ ที่ชุมชนมี อาจจะเป็นปกติสำหรับคนใกล้ชิด
แต่อาจจะเป็นเรื่องยิ่งใหญ่สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้เห็น
อย่างเช่นการถักร้อยด้วยวัสดุธรรมชาติอย่างทางมะพร้าวนี้ก็เช่นกัน
อาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่กลับเป็นสิ่งยิ่งใหญ่สำหรับผู้พบเห็นอย่างข้าพเจ้า และครั้นพอได้เข้าไปสัมผัสถึงที่มาและเรื่องราวความเป็นตัวตนของชุมชนบ้านบักดองที่มีประวัติเก่าแก่มาจากอดีตและมีปราชญ์ชาวบ้านในหลากหลายอาชีพด้วยแล้ว
น่าชื่นชมและน่าเอาเป็นแบบอย่าง
ที่นี่
ชุมชนชาวไทยที่สื่อสารกันด้วยภาษาเขมรแห่งบ้านบักดอง ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ
จังหวัดศรีสะเกษ
เรื่อง / ภาพ : ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น