เรื่องการถักทอผ้าเป็นวิถีดั้งเดิมของผู้คนอีสานมาจากอดีตเพื่อใช้สอย
ทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย หากทว่าลายสีสันสวยงามที่ปักตามตะเข็บหรือขอบผ้ารวมไปถึงลวดลายต่าง
ๆ ที่มีให้เห็นมีการพัฒนาขึ้นยามยุคยามสมัย สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ลงมือประดิษฐ์ปักลายเหล่านั้น
หรือที่เรียกว่า การแซวผ้า หรือแส่วผ้า
ที่ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่
จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี ได้เห็นคุณค่าและมูลค่าเหล่านั้น
จึงได้มีการริเริ่มและของบประมาณจากหน่วยงานรัฐมาเพื่อจัดอบรมให้กับกลุ่มทั้งตำบลขึ้น
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ศรี
นางดวงมาลี
ไชยโคตร หัวหน้าคณะทำงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลโพธิ์ศรี
อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ เล่าว่า งานเกี่ยวกับผืนผ้าสำหรับสวมใส่ในปัจจุบันนี้ล้วนเป็นงานฝีมือ
และสวยงาม โดยเฉพาะงานปักแส่วผ้า ไม่เพียงแต่สวยงามอย่างเดียวแต่ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นเพราะลวดลายที่ปักเพิ่มเข้าไป
ทำให้รู้สึกว่าเราควรส่งเสริมด้านนี้ให้กับกลุ่มสตรีในตำบลเรา ซึ่งก็มีทางกลุ่มที่สนใจมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้กว่า
100 คน
โดยในการอบรมครั้งนี้
ก็ได้วิทยากรที่มีความรู้ ชำนาญ ที่มีประสบการณ์ในการปักแซวผ้ามากว่า 20 ปี คือคุณแม่สงวน
ศรีเลิศ วัย 63 ปี และมีงานปักมาให้ทำอยู่ตลอดไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งรับงานปักแซวผ้านี้ผืนละ
800 บาท ซึ่งใช้เวลาในการปักแซวนี้ 5 วันได้ 1 ผืน เล่าให้ฟังว่า วันนี้มาให้ความรู้กับกลุ่มสตรีที่นี่
ซึ่งก็มีแต่คนเก่ง ๆ เข้าใจเร็วและทำได้รวดเร็ว โดยได้นำลายดอกผักแว่น ลายเชิงเทียนและลายมังกรมานำเสนอให้ได้เรียนรู้ด้วย
เช่นเดียวกัน วิไลลักษณ์ เพชรรินทร์ วัย 38 ปี กลุ่มสตรีจากบ้านโพธิ์ศรี หมู่ 5 เล่าว่า ดีใจที่มีโครงการดี ๆ ให้ได้พัฒนาทักษะและศักยภาพให้กับกลุ่มเราได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถปักลายผ้าและขายได้เงินดีด้วย อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีกอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้
ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นพลังให้กับกลุ่มได้พบปะกันรวมถึงได้เปิดโอกาสช่องทางให้คนในชุมชนได้พัฒนาฝีมือการปักแซวลวดลายผ้า
สร้างมูลค่าได้เป็นอย่างดีด้วย
.
10 กันยายน 2563
เรื่อง/ ภาพ ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น