วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563

ชาวตาอุด-ศรีตระกูลครึ่งพัน ร่วมเวทีค้านโรงไฟฟ้าชุมชน | HUG HOUSE [สุขนี้ที่บ้านเรา]

กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดตาอุด-ศรีตระกูล อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ จัดเวทีคัดค้านโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก หวั่นแย่งน้ำทำการเกษตรที่แล้งหนักเป็นทุนเดิมแล้ว และการทำประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาคนในชุมชนเข้าร่วมไม่ถึง 10 คน พร้อมยื่นหนังสือคัดค้านต่อหน่วยงานรัฐ 

วันนี้ (11 กันยายน 2563) ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตาอุด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดตาอุด-ศรีตระกูล จัดเวทีเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและผลกระทบของการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยมีนักวิชาการและนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคมเป็นวิทยากร โดยมีผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับกระทบจาก ต.ตาอุด ต.ศรีตระกูล อ.ขุขันธ์ ต.สำโรงพลัน อ.ไพรบึง และต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เข้าร่วมเวทีครั้งนี้กว่า 500 คน พร้อมทั้งมีการยื่นหนังสือเพื่อคัดค้านโรงไฟฟ้าชุมชนดังกล่าวด้วย โดยอ้างว่า การประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม นั้นขาดการมีส่วนร่วมซึ่งมีคนในพื้นที่เข้าร่วมไม่ถึง 10 คนและมีการนำคนจากพื้นที่อื่นเข้ามาร่วมเวที.


.
นายวรจักร โคตมา ผู้ใหญ่บ้านจำนรรค์ หมู่ 3 ต.ตาอุด อ.ขุขันธ์ เล่าถึงวันประชาพิจารณ์ในวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า ในวันประชาพิจารณ์ครั้งนั้น ทางนายทุนหรือโรงไฟฟ้าเขาพูดแต่ข้อดีของการมีโรงไฟฟ้าชุมชน พูดแต่รายได้ที่เกิดขึ้น แต่เขาไม่ได้พูดถึงผลกระทบอะไรเลย ซึ่งในวันนั้นเป็นคนมาจากที่อื่นแต่ไม่น่าถึง 100 คนนะ ซึ่งก็มีคนในตำบลตาอุดเราที่มาร่วมรับฟังและคัดค้านก็แค่ 7-8 คนเท่านั้นเอง นอกนั้นเป็นคนพื้นที่อื่นทั้งหมด


นายเด่นชัย ดอกพอง อายุ 46 ปี ตัวแทนกลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดตาอุด-ศรีตระกูล กล่าวว่า ชาวบ้านไม่เคยได้รู้ข้อมูลเรื่องโรงไฟฟ้าชุมชนหรือเรื่องพวกนี้เลย ทราบข่าวจากเพื่อนบ้านว่ามีการประชุมเพื่อลงมติเรื่องนี้ที่ อบต.ตาอุดเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา จึงศึกษาข้อมูลผลกระทบหรือผลดีผลเสียที่ชาวบ้านเราจะได้รับเอง จึงได้รู้ว่ามีผลกระทบทุกด้านเลย ไม่ว่าจะเป็นด้านมลพิษ ฝุ่นละออง กลิ่น เสียงและที่สำคัญคือเรื่องการแย่งน้ำของชาวบ้านเราที่ทำเกษตรแน่เลย ทั้ง ๆ ที่บ้านเราก็มีเป็นพื้นที่ขึ้นชื่อเรื่องแตงโมหวานอร่อย ที่ทำเกษตร สร้างรายได้มากมายให้กับชุมชนเรา

นายรัน บุญตา อายุ 69 ปี ชาวบ้านตาอุด หมู่ 1 ต.ตาอุด อ.ขุขันธ์ กล่าวว่า ไม่เคยรู้เรื่องโรงไฟฟ้าที่จะมาตั้งเลย และไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาจะตั้งตรงไหน รู้แต่เพียงว่าใกล้ ๆ บ้านเรา เรื่องข้อมูลหรือผลกระทบอะไรนั้นไม่มีใครมาบอกให้รู้เลย วันนี้มีเพื่อนบ้านบอกว่าเรื่องนี้สำคัญกับชีวิตพวกเรา จึงได้มาร่วมรับฟังด้วย  พากันออกมาทั้งหมู่บ้านเลย พอฟังแล้วก็ไม่เห็นด้วยถึงผลกระทบที่จะเกิดแบบนี้ พ่อไม่เอาแน่นอน จะร่วมกันคัดค้าน

พระมหาทองดี ชยสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองคู ต.โพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ กล่าวว่า วัดบ้านหนองคูเองอยู่ในพื้นที่ใกล้ที่คาดดว่าจะตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากนี้ ได้เล็งเห็นความสำคัญและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนและลูกหลานบ้านเรา อาตมามองว่าพลังงานทางเลือกมีหลายอย่าง ทำไมต้องเลือกสร้างที่มีผลกระทบกับชาวบ้านเราด้วย หรือหากจะสร้างจริง ๆ ควรไปเลือกพื้นที่เหมาะสมและห่างจากชุมชนจริง ๆ 

กิจกรรมเวทีสร้างความรู้ ความเข้าใจและผลกระทบนี้ ได้รับความร่วมมือจากคณะครูและนักเรียนบ้านตาอุด โดยนำอุปกรณ์วัดอุณหภูมิมาอำนวยความสะดวก และแจกหน้ากากอนามัยรวมถึงมีเจลแอลกอฮอล์ไว้บริการกับผู้เข้าร่วมเวทีในครั้งนี้ด้วย

นางสาวกัญญาพัชร บัวหอม นักเรียนโรงเรียนบ้านตาอุด กล่าวว่า วันนี้ดีใจได้มีส่วนร่วมกับเพื่อน ๆ ได้มาช่วยคัดกรอกชาวบ้านเรา และแจกหน้ากากอนามัยให้กับใครที่ไม่ได้พกมาถึงมีเจลแอลกอฮอล์ไว้ตามจุดต่าง ๆ ด้วยค่ะ

.

และมีการอ่านแถลงการณ์จากกลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดตาอุด-ศรีตระกูล จ.ศรีสะเกษ คัดค้านโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยชาวบ้านได้กินแตงโมที่เป็นสัญลักษณ์ของคนในพื้นที่ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนมหาศาล รวมถึงได้ยื่นหนังสือคัดค้านต่อหน่วยงานภาครัฐ คือ พลังงานจังหวัดศรีสะเกษเป็นผู้รับมอบ



ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์ รายงาน

11 กันยายน 2563




.







































วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

เรียนรู้ลายผ้า เพิ่มมูลค่าอีกเท่าตัวที่โพธิ์ศรี HUG HOUSE [สุขนี้ที่บ้านเรา]

เรื่องการถักทอผ้าเป็นวิถีดั้งเดิมของผู้คนอีสานมาจากอดีตเพื่อใช้สอย ทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย หากทว่าลายสีสันสวยงามที่ปักตามตะเข็บหรือขอบผ้ารวมไปถึงลวดลายต่าง ๆ ที่มีให้เห็นมีการพัฒนาขึ้นยามยุคยามสมัย สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ลงมือประดิษฐ์ปักลายเหล่านั้น หรือที่เรียกว่า การแซวผ้า หรือแส่วผ้า



ที่ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี ได้เห็นคุณค่าและมูลค่าเหล่านั้น จึงได้มีการริเริ่มและของบประมาณจากหน่วยงานรัฐมาเพื่อจัดอบรมให้กับกลุ่มทั้งตำบลขึ้น ณ องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ศรี



นางดวงมาลี ไชยโคตร หัวหน้าคณะทำงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลโพธิ์ศรี อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ เล่าว่า งานเกี่ยวกับผืนผ้าสำหรับสวมใส่ในปัจจุบันนี้ล้วนเป็นงานฝีมือ และสวยงาม โดยเฉพาะงานปักแส่วผ้า ไม่เพียงแต่สวยงามอย่างเดียวแต่ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นเพราะลวดลายที่ปักเพิ่มเข้าไป ทำให้รู้สึกว่าเราควรส่งเสริมด้านนี้ให้กับกลุ่มสตรีในตำบลเรา ซึ่งก็มีทางกลุ่มที่สนใจมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้กว่า 100 คน



โดยในการอบรมครั้งนี้ ก็ได้วิทยากรที่มีความรู้ ชำนาญ ที่มีประสบการณ์ในการปักแซวผ้ามากว่า 20 ปี คือคุณแม่สงวน ศรีเลิศ วัย 63 ปี และมีงานปักมาให้ทำอยู่ตลอดไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งรับงานปักแซวผ้านี้ผืนละ 800 บาท ซึ่งใช้เวลาในการปักแซวนี้ 5 วันได้ 1 ผืน เล่าให้ฟังว่า วันนี้มาให้ความรู้กับกลุ่มสตรีที่นี่ ซึ่งก็มีแต่คนเก่ง ๆ เข้าใจเร็วและทำได้รวดเร็ว โดยได้นำลายดอกผักแว่น ลายเชิงเทียนและลายมังกรมานำเสนอให้ได้เรียนรู้ด้วย  


เช่นเดียวกัน วิไลลักษณ์ เพชรรินทร์ วัย 38 ปี กลุ่มสตรีจากบ้านโพธิ์ศรี หมู่ 5 เล่าว่า ดีใจที่มีโครงการดี ๆ ให้ได้พัฒนาทักษะและศักยภาพให้กับกลุ่มเราได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถปักลายผ้าและขายได้เงินดีด้วย อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้อีกอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นพลังให้กับกลุ่มได้พบปะกันรวมถึงได้เปิดโอกาสช่องทางให้คนในชุมชนได้พัฒนาฝีมือการปักแซวลวดลายผ้า สร้างมูลค่าได้เป็นอย่างดีด้วย

.

10 กันยายน 2563

 เรื่อง/ ภาพ ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
















ทุ่งกะบาลกะไบแห่งเทือกเขาพรมแดนไทย-กัมพูชา พื้นที่เปิดแห่งใหม่เหมาะกับนักเดินทางและนักประวัติศาสตร์

“บุญ” ต้องฟรี วัดไตรสามัคคี’ จ.ศรีสะเกษ ติดป้ายชัดเจน ทำบุญที่นี่ “ฟรี” ไม่เสียตังค์ [มีคลิป]

ที่วัดไตรสามัคคี ต.โดด อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ เป็นวัดท่องเที่ยวเชิงพุทธอีกแห่งของจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังเป็นที่นิยมในการทำบุญของพุทธศา...