วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
พระสงฆ์นักพัฒนา รับการเชิดชูเกียรติ [Hug House : สุขนี้ที่บ้านเรา]
“การปลูกต้นไม้ การสร้างป่าเสมือนการบูชาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพานในป่า ฉะนั้น การปลูกต้นไม้ทำให้มีความรู้สึกว่าอยู่ใกล้พระพุทธเจ้ามากที่สุด อีกทั้งช่วยโลกเราได้รับอากาศบริสุทธิ์ด้วย”
พระครูสังวรวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดไตรราษฎร์สามัคคี อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เอ่ยถึงการให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้ ปลูกป่าในพื้นที่วัดและในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ของวัดและชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งในการสร้างทรัพยากรให้มีชีวิตที่หลวงพ่อได้ทำให้เห็นและชวนชุมชนได้ปลูกร่วมกัน อันนำไปสู่การปลูกสำนึกดีในใจคน และการสร้างคนให้มีคุณภาพ
วัดไตรราษฎร์สามัคคี เป็นชุมชนชาวกวยศรีสะเกษ ที่มีการอนุรักษ์ วัฒนธรรม ประเพณี สืบสานสิ่งดีงามในความเป็นวิถีดั้งเดิม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับเรื่องการแต่งกายที่มาจากการทอผ้าไหมตัดเป็นเสื้อและผ้าถุง ผ้าโสร่ง เพื่อสวมใส่เองทั้งเด็กกระทั่งถึงสูงอายุ โดยเฉพาะในงานบุญประเพณีต่าง ๆ ที่มีในชุมชน นั่นคงเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของชุมชนที่นี่ และที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจและการทำงานด้านวิชาการไทบ้านที่มีงานวิจัยชุมชน ที่ขับเคลื่อนเพื่อศึกษาและรักษาไว้ซึ่งสิ่งดีงามดั้งเดิมให้คงอยู่ในงานวิจัย อาทิ "โครงการศึกษากลุ่มเยาวชนกับการฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีชาติพันธุ์กวย (ส่วย) : กรณีศึกษา ชุมชนวัดไตรราษฎร์สามัคคี บ้านตาตาและบ้านซำ ตำบลโพธิ์กระสังข์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ” และมีอีกหลาย ๆ งานด้านวิชาการต่อมา ที่ขับเคลื่อนโดยคนในชุมชน
ซึ่งอีกหนึ่งที่ชุมชนวัดไตรราษฎร์สามัคคี ยังให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าเรื่องอื่นใด คือการสร้างคน สร้างพลังให้กับคนในชุมชนได้ขยับขับเคลื่อนไปด้วยกันได้ด้วยดีเสมอมา
นั่นคือส่วนหนึ่งที่มี “พระครูสังวรวุฒิคุณ” เป็นพระสงฆ์ผู้คอยเป็นทั้งแกนนำ เป็นทั้งที่ปรึกษา เป็นทั้งคณะขับเคลื่อน ชี้แนวทาง แนะนำให้ชุมชนได้ทำงานร่วมกันด้วยดี
นั่นจึงเป็นเสมือนหนึ่ง แกนประสานหลักด้านความเป็น “พระสงฆ์นักพัฒนา”อย่างแท้จริง อีกรูปหนึ่ง ที่ไม่ได้นำพาเพียงเรื่องจิตใจอย่างเดียว แต่ได้นำพาในทุกเรื่องเพื่อสิ่งดีงามจะคงอยู่และดำรงต่อไปได้
ด้วยจากสิ่งที่ท่านได้กระทำมาทั้งปวง ไม่ได้เปล่า คณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ (คปศ.) และองค์กรเครือข่าย ได้พิจารณาสรรหาองค์กร หน่วยงาน ข้าราชาการ และบุคคล ที่ทำงานเพื่อส่วนรวม ทำความดีเพื่อประโยชน์สุขต่อสังคมด้วยดีเสมอมา มีการเล็งเห็นและคัดเลือกให้ท่านเข้ารับโล่เชิดชูเกียรติในงาน “คนดีศรีสะเกษ” สาขา “พระสงฆ์นักพัฒนา” ประจำปี 2564 โดยมีการเข้ารับโล่เชิดชูเกียรติดังกล่าวที่วิหารหลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งมีพระราชกิตติรังสี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดเจียงอีศรีมงคลวราราม พร้อมกับนายนพ พงศ์ผลาดิสัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานมอบรางวัลคนดีศรีสะเกษ
สร้างความปราบปลื้มปีติมายังศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าว ร่วมแสดงมุทิตาจิตโดยพร้อมเพรียงกัน
วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
แนวคิดการสร้างป่า หลวงพ่อพระครูสังวรวุฒิคุณ
#แนวคิดการสร้างป่า หลวงพ่อพระครูสังวรวุฒิคุณ
“การปลูกต้นไม้ การสร้างป่าเสมือนการบูชาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพานในป่า ฉะนั้นการปลูกต้นไม้ทำให้มีความรู้สึกว่าอยู่ใกล้พระพุทธเจ้ามากที่สุด”
พระครูสังวรวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดไตรราษฎร์สามัคคี อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ นับว่าเป็นนักฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานสิ่งดีงามของชุมชนให้อยู่คู่กับวิถีชาติพันธุ์ความเป็นกวย,กูยเรามาช้านาน
นอกจากกิจวัตรและกิจของสงฆ์แล้ว
สิ่งที่ท่านทำให้เห็นเด่นชัดอีกอย่างหนึ่ง คือ การสร้างทรัพยากรป่าให้เกิดอย่างต่อเนื่อง ที่ไม่เพียงแค่การบรรยาย
เทศนาแต่ยังนำพาปลูกต้นไม้ใหม่ ๆ ขึ้นเสมอ ๆ ทั้งที่วัด ชุมชนและพื้นที่ต่าง ๆ ด้วย
“การปลูกต้นไม้ สร้างป่าเสมือนการบูชาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพานในป่า ฉะนั้นการปลูกต้นไม้ทำให้มีความรู้สึกว่าอยู่ใกล้พระพุทธเจ้ามากที่สุด” การปลูกต้นไม้ทำให้ได้ฝึกสมาธิ ฝึกความอดทน นอกจากปลูกแล้วต้องดูและรดน้ำ ใส่ปุ๋ยจนกว่าต้นไม้จะอยู่รอดและเติบโตต่อไป
จุดเริ่มของการปลูกต้นไม้
คือ การปลูกบริเวณวัดเดิมมีพื้นที่ราว ๆ ๙ ไร่เศษ จากนั้นจึงขยับขยายพื้นที่รอบ
ๆ วัด โดยได้รับความศรัทธาของญาติโยมที่ร่วมกันทำบุญซื้อที่ดินถวายวัดเพิ่ม ซึ่งตอนนี้มี
จำนวน ๔๐
ไร่ ทางวัดทำการปรับภูมิทัศน์ให้เป็นพื้นที่โคกหนองนา มีหนองเป็นพื้นที่เก็บน้ำ มีพื้นที่โคกสำหรับปลูกต้นไม้ และมีพื้นที่สำหรับการทำนาอินทรีย์ ซึ่งเป็นนาข้าวอินทรีย์แปลงตัวอย่างให้กับชุมชน.
แนวคิดการปลูกต้นไม้สร้างป่า ยังขยายไปต่อที่พื้นที่สาธารณะชุมชน บ้านตาตา ชุมชนมีความตื่นตัวและมีส่วนร่วม ร่วมกันปลูกป่าฟื้นฟูในพื้นที่ป่าชุมชน จำนวน ๔๘
ไร่ รวมถึงรอบ ๆ หนองสาธารณะ หนองผือบ้านตาตา หนองผือบ้านซำ
ซึ่งได้รับการหนุนเสริมจากหลวง พระครูสังวรวุฒิคุณ.
ที่สำคัญคือการทำให้เกิดนิเวศที่เกื้อหนุน
เกิดความสมดุล
หรือการสร้างป่าเพื่อเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนอากาศบริสุทธิ์ เป็นแหล่งอาหารอาหารปลอดภัย เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางธรรมชาติ
เป็นที่พักผ่อน
และเป็นพื้นที่เชื่อมคนหลากหลายวัย ทั้งวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นพื้นที่ให้หน่วยงาน ภาคีเครือข่าย กลุ่มคนทำงานเพื่อสังคมได้มาพบปะ และทำงานร่วมกัน
สื่อประกอบ
นักข่าวพลเมือง : ปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่ป่าชุมชนบ้านตาตา จ.ศรีสะเกษ (25 ม.ค. 60)
เรื่อง /ธีรพล แก้วลอย
ภาพ /ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ทุ่งกะบาลกะไบแห่งเทือกเขาพรมแดนไทย-กัมพูชา พื้นที่เปิดแห่งใหม่เหมาะกับนักเดินทางและนักประวัติศาสตร์
“บุญ” ต้องฟรี วัดไตรสามัคคี’ จ.ศรีสะเกษ ติดป้ายชัดเจน ทำบุญที่นี่ “ฟรี” ไม่เสียตังค์ [มีคลิป]
ที่วัดไตรสามัคคี ต.โดด อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ เป็นวัดท่องเที่ยวเชิงพุทธอีกแห่งของจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังเป็นที่นิยมในการทำบุญของพุทธศา...
-
"เฉพาะกิจทีม" ในนามรวมทีมคนรักกีฬาวัย 35+ จากตำบลโพธิ์กระสังข์ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ร่วมสนามเป็นคู่พิเศษกับทีม "ปกครองสำโรงพล...
-
ที่วัดไตรสามัคคี ต.โดด อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ เป็นวัดท่องเที่ยวเชิงพุทธอีกแห่งของจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังเป็นที่นิยมในการทำบุญของพุทธศา...